วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562

คอมพิวเตอร์กับการแก้ปัญหา 
      การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาทุกประการ ดังนั้นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยสำหรับการแก้ปัญหา จึงต้องมีโปรแกรมสำหรับการแก้ปัญหานั้น เพื่อสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ ผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมจึงต้องทราบถึงวิธีการของการแก้ปัญหาที่ต้องการแก้ไขทุกขั้นตอน จากนั้นจึงทำการเรียบเรียงลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แล้วนำขั้นตอนวิธีที่ได้เรียบเรียงขึ้นมาเขียนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไป การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้มีการเตรียมการไว้ก่อน โดยทำการเขียนโปรแกรมตามความคิดในขณะนั้น ไม่ได้มีการวางแผนหรือการจดบันทึกขั้นตอนวิธีการทำงานของโปรแกรมที่เขียนขึ้นสำหรับเป็นเอกสารอ้างอิง เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เสียเวลาในการเขียนโปรแกรมเพิ่มมากขึ้น หากต้องการปรับปรุงพัฒนาการทำงานของโปรแกรมในภายหลัง จะมีความยุ่งยาก ต้องใช้เวลาสำหรับการทำความเข้าใจกับขั้นตอนวิธีการทำงานของโปรแกรม ถ้าโปรแกรมไม่มีความซับซ้อนมากนัก เวลาที่ใช้สำหรับการศึกษาถึงวิธีขั้นตอนวิธีการในการแก้ปัญหาจะใช้เวลาไม่มาก แต่ถ้าโปรแกรมนั้นมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การศึกษาถึงขั้นตอนวิธีการในการทำงาน จะยิ่งใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น การเขียนเอกสารประกอบการทำงานของโปรแกรม ทำให้การปรับปรุงพัฒนาการทำงานของโปรแกรมในภายหลัง สามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น 

    ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา 
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้สำหรับช่วยในการแก้ปัญหา ขั้นตอนของการวิเคราะห์ปัญหาสำหรับเตรียมการก่อนลงมือเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนดังนี้ 
1. การทำความเข้าใจกับปัญหา 
2. การพิจารณาลักษณะของข้อมูลเข้าและข้อมูลออก 
3. การทดลองแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 
4. การเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา 
5. การทดสอบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา  

1. การทำความเข้าใจกับปัญหา 
ขั้นตอนแรกสำหรับการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการแก้ปัญหา คือ การทำความเข้าใจกับปัญหาหรือการวิเคราะห์ปัญหา ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำหรับผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรม ทำความเข้าใจกับปัญหา วิเคราะห์ปัญหาที่ต้องการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาข่วยในการแก้ปัญหาว่า ปัญหาที่ต้องการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการแก้ปัญหาคือ ปัญหาลักษณะใด ถ้าผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมไม่สามารถทำความเข้าใจกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข การนำคอมพิวเตอร์มาใช้สำหรับช่วยในการแก้ปัญหา ก็ไม่สามารถทำได้ 

2. การพิจารณาลักษณะของข้อมูลเข้าและข้อมูลออก 
หลังจากทำความเข้าใจกับปัญหาที่ต้องการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการแก้ไข ขั้นตอนต่อไปคือ การพิจารณาลักษณะของข้อมูลเข้า ที่ต้องส่งให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้สำหรับการทำงาน และข้อมูลออกที่ต้องการให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่งกลับ หลังจากที่ทำการแก้ไขปัญหาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ลักษณะของข้อมูลเข้าและข้อมูลออก เช่น ข้อมูลชื่อของนักศึกษา และรหัสประจำตัวของนักศึกษา รวมไปถึงชนิดของข้อมูลเข้าและข้อมูลออก ตัวอย่างของชนิดข้อมูล เช่น ข้อมูลเป็นตัวอักษร หรือข้อมูลที่เป็นตัวเลข ในกรณีที่เป็นข้อมูลตัวเลข ต้องพิจารณาอีกว่า เป็นตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็ม หรือ เป็นตัวเลขที่มีจุดทศนิยม  

3. การทดลองแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 
การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสำหรับการแก้ไขปัญหา สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมต้องทราบถึงขั้นตอนวิธีสำหรับการแก้ไขปัญหา หลังจากการพิจารณาลักษณะของข้อมูลเข้าและข้อมูลออก ขั้นตอนต่อไปคือ ขั้นตอนของการหาวิธีสำหรับการแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนสำหรับผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรม ทำการทดลองหาวิธีการสำหรับแก้ไขปัญหา การหาวิธีการแก้ปัญหาอาจทำการทดลองหาวิธีการแก้ปัญหาหลายวิธี จากนั้นทำการเลือกเอาวิธีการที่เหมาะสม มาทำการเรียบเรียงลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานเพื่อนำไปใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไป การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำตามโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นทุกประการ เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดค้นวิธีการใหม่สำหรับการแก้ปัญหาขึ้นมาเองได้ ถ้าผู้ที่เขียนโปรแกรมไม่เข้าใจถึงขั้นตอนวิธีสำหรับการแก้ไขปัญหา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาย่อมไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง  

4. การเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา 
ขั้นตอนของการพัฒนาลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง เพราะเป็นขั้นตอนที่จะนำไปใช้สำหรับพัฒนาให้เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ต่อไป ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นำเอาวิธีการสำหรับการแก้ปัญหาที่ได้ทำการเลือกจากขั้นตอนของการทดลองการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง มาทำการเรียบเรียงเป็นลำดับขั้นตอนวิธีการทำงาน โดยเขียนขั้นตอนวิธีการทำงานเป็นข้อตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ขั้นตอนวิธี (Algorithm) คือ การเขียนอธิบายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานของการแก้ปัญหาในลักษณะของข้อความตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนถึงขั้นตอนสุดท้าย การพัฒนาลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา 
มีวิธีการดังนี้ 
1. เขียนลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานทั้งหมดอย่างย่อ 
เป็นการเขียนการทำงานแต่ละขั้นตอนอย่างย่อ ไม่ละเอียดมากนัก ตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการทำงาน เพื่อดูภาพรวมของการทำงานของขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทั้งหมด 
2. เขียนลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานอย่างละเอียด 
เป็นการเขียนรายละเอียดของการทำงานของแต่ละขั้นตอนที่ได้จากข้อ 1 เพื่อให้สามารถทำการเปลี่ยนให้เป็นรหัสเทียม และโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 
3. เขียนลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานแต่ละข้อให้อยู่ในรูปของรหัสเทียม 
รหัสเทียม (Pseudo Code) คือ ภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่นิยมเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมต้องการนำขั้นตอนวิธีการทำงานที่ได้เรียบเรียงขึ้นมาทำการเขียนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนจากรหัสเทียมให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมต้องการใช้ภาปาสคาล สำหรับการเขียนโปรแกรมสามารถทำได้โดยเปลี่ยนจากรหัสเทียมให้เป็นภาษาปาสคาล  

5. การทดสอบลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา 
หลังจากการพัฒนาส่วนของลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา ขั้นตอนสุดท้ายคือ ขั้นตอนสำหรับการทดสอบส่วนของลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาที่ได้เขียนขึ้น การทดสอบลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทำได้โดยสมมติข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลเข้าสำหรับการแก้ปัญหา แล้วสมมติให้ผู้เขียนโปรแกรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานตามขั้นตอนวิธี หรือรหัสเทียมที่ได้ทำการเขียนขึ้นแล้วทำการพิจารณาการทำงานของลำดับขั้นตอนวิธีที่ได้เขียนขึ้นว่า สามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ หากขั้นตอนวิธีที่ทำการเขียนขึ้นมีการทำงานที่ผิดพลาด ต้องกลับไปแก้ไขส่วนของขั้นตอนการพัฒนาลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาให้ถูกต้อง จากนั้นทำการทดสอบด้วยข้อมูลที่ทำให้ผลการทำงานผิดพลาดอีกครั้ง จนกว่าการทำงานของขั้นตอนวิธีสามารถทำได้อย่างถูกต้อง สำหรับการทดสอบขั้นตอนวิธีการทำงานควรทำการทดสอบด้วยข้อมูลหลายชุดข้อมูล เพื่อให้สามารถทำการทดสอบที่ครอบคลุมการทำงานทั้งหมดของขั้นตอนวิธี และเป็นการยืนยันว่า ขั้นตอนวิธีทำงานที่ทำการเขียนขึ้นนั้น มีความถูกต้อง ไม่ได้หมายถึงว่า ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาที่เขียนขึ้น มีความถูกต้องสมบูรณ์ 

ตัวอย่างการหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ 
จงเขียนแนวทางการแก้ปัญหาสำหรับการหาพื้นที่ห้องเรียน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยรับข้อมูลความกว้าง และความยาวของห้อง จากนั้นแสดงค่าของพื้นที่ห้องที่คำนวณได้ 

ขั้นตอนที่ 1 ทำความเข้าใจกับปัญหา 
ปัญหาที่ต้องการแก้ไข คือ การคำนวณหาพื้นที่ของห้องเรียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 
ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาลักษณะข้อมูลเข้าและข้อมูลออก 
ข้อมูลเข้า คือ ความกว้างของห้อง และ ความยาวของห้อง ชนิดของข้อมูลทั้งความกว้างและความยาว เป็นข้อมูลชนิดตัวเลข สามารถเป็นได้ทั้งตัวเลขจำนวนเต็มและตัวเลขทศนิยม ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรม ข้อมูลออก คือ ค่าของพื้นที่ห้อง ชนิดของข้อมูลเป็นตัวเลข สามารถเป็นได้ทั้งตัวเลขจำนวนเต็มและตัวเลขทศนิยม ขึ้นอยู่กับวิธีการหาคำตอบ 
ขั้นตอนที่ 3 ทดลองแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 
การคำนวณหาพื้นที่ห้องสี่เหลี่ยม หาได้จากสูตร พื้นที่ห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า = กว้าง x ยาว ถ้าให้ความกว้างของห้อง = 8 เมตร ถ้าให้ความยาวของห้อง = 6 เมตร พื้นที่ห้อง = 8 x 6 = 48 ตารางเมตร 
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา 
ในที่นี้จะเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานอย่างย่อ ดังนี้ 1. เริ่มต้น 2. รับค่าความกว้างและความยาวของห้อง 3. คำนวณค่าพื้นที่ห้อง = กว้าง x ยาว 4. แสดงค่าของพื้นที่ห้อง 5. จบการทำงาน รหัสเทียม Begin Read Wide , Long Area Wide * Long Write Area End. 
ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา 
1. Begin เป็นส่วนของการบอกการเริ่มต้นของขั้นตอน 
2. Read Wide , Long ขั้นตอนนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์จะรอรับข้อมูล 2 ค่าคือ ค่าความกว้างและค่าความยาวของห้อง สมมติให้ความกว้าง = 10 และความยาว = 12 
3. Area Wide * Long ค่าพื้นที่ = กว้าง x ยาว = 10 x 12 = 120 ตารางหน่วย 
4. Write Area แสดงค่าของพื้นที่ห้องรูปสี่เหลี่ยมที่คำนวณได้คือ 120 ตารางหน่วย 
5. End. เป็นตัวบอกการสิ้นสุดการทำงานของขั้นตอนทั้งหมด


                                                    ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)

ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  1. ซอฟต์แวร์ (Software)
  1. บุคลากร (Peopleware)
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
1.     หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2.    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
  1. หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
  1. หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
  1. หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
  1. หน่วยความจำภายใน
  1. แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
  1. แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
  1. แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
3.    หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
- หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
            2.    หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ

  1. แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
  2. แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
  3. แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

หน่วยความจำต่ำสุด คือ บิต (BIT [Binary Digit]) โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ หรือ 1 ไบต์ (Bite) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 2 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์
ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ

             1.  ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
             2. ขนาด 3.5 นิ้ว
                       ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป
  • เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)
  • มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
  • ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
  • เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้
  • 3.    หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)
  1. ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
  1. ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ


Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )
ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี  คุณสมบัติดังนี้
ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่ง มี 2ประเภท คือ   
บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น